ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

สมุนไพรไทยที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นิยมใช้เหง้าของขมิ้นชันมาทำเป็นยาพื้นบ้านรักษาโรค สีย้อมผ้า และเป็นเครื่องปรุงในอาหาร เราจึงมักจะพบเมนูอาหารที่มีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเหลือง แกงกะหรี่ แกงไตปลา ข้าวหมกไก่ และไก่ต้มขมิ้น เป็นต้น

ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงมีการนำสมุนไพรขมิ้นชันมาประยุกต์ใช้และผลิตออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านความงาม ยารักษาโรค อาหารเสริม ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยจึงได้ค้นพบว่า ขมิ้นชัน มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่าำคัญ ทำให้นักวิจัยทั่วโลกหันมาสนใจและนำขมิ้นชันมาศึกษาและทำการวิจัยเพิ่มเติมอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ลักษณะของขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน จัดเป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างอ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน มีความสูง 30-95 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินรูปไข่ เนื้อในมีสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว กลางใบเป็นสีแดงคล้ำ แทงออกมาจากเหง้าเรียงกันเป็นวงซ้อนทับกัน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนเป็นเอกลักษณ์

สารสำคัญในขมิ้นชัน

สารสำคัญที่อยู่ในเหง้าของขมิ้นชันที่แสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามีอยู่ 2 ชนิด คือ

  • น้ำมันหอมระเหย (essential oil)
  • สารเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoids)

ขมิ้นชัน และคุณประโยชน์เฉพาะตัว

ปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต รักษาอาการหมดประจำเดือน ลดไขมัน ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและอาหารไม่ย่อย

งานวิจัยของขมิ้นชัน

ขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

จากการศึกษาในผู้ป่วยเบต้าธาลัสซีเมีย/ ฮีโมโกลบินอี
จำนวน 21 ราย หลังให้รับประทานเคอร์คิวมินขนาด 500 mg. 
ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า สามารถลด oxidative stress 
เพิ่ม antioxidant enzymes และ antioxidant glutathione 
ในเลือดได้
จากการศึกษาเด็กที่ป่วยเป็นเบต้าธาลัสซีเมีย/ ฮีโมโกลบินอี 
โดยให้รับประทานขมิ้นชันวันละ 2 แคปซูล พบว่า ผู้ป่วยเด็ก 
5 ใน 8 ราย มีอายุของเม็ดเลือดแดงนานขึ้น 
และไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านการอักเสบ

จากการทดสอบสารเคอร์คิวมินกับยามาตรฐาน 
phenylbutazone (ยาต้านอักเสบ) พบว่า มีฤทธิ์ใกล้เคียงกัน
ในกรณีการอักเสบเฉียบพลัน แต่ทำให้เกิดแผลน้อยกว่า 
หรือแสดงความเป็นพิษน้อยกว่ายามาตรฐาน

ขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์

จากการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ 
โมลด์ (molds) และยีสต์ (yeasts) ของน้ำมันหอมระเหย
และสารเคอร์คิวมิน พบว่า น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการ
ยับยั้งเชื้อราได้ทั้ง 3 ชนิด ส่วนสารเคอร์คิวมินยับยั้งได้
เฉพาะยีสต์เพียงอย่างเดียว

ขมิ้นชันกับฤทธิ์ต้านมะเร็ง

จากการวิจัยในระดับคลินิกกับผู้ป่วยมะเร็งลำใส้ใหญ่
ที่ดื้อต่อเคมีบำบัด จำนวน 15 คน โดยให้ผู้ป่วยรับประทาน
สารสกัดเคอร์คิวมาวันละ 2-10 แคปซูล เป็นเวลา 4 เดือน 
พบว่าผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
จากการทดสอบเคอร์คิวมินกับผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่จะ
เป็นมะเร็ง จำนวน 25 คน โดยให้ผู้ป่วยรับประทาน
เคอร์คิวมินวันละ 0.5 - 12 กรัม พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
และไม่เกิดพิษต่อผู้ป่วย

ขมิ้นชันกับโรคอัลไซเมอร์

งานวิจัยจากการสำรวจผู้สูงอายุชาวเอเชีย อายุ 63-93 ปี 
บริโภคแกงกะหรี่ในระดับที่แตกต่างกัน คือ ทานบางครั้ง 
ทานเป็นประจำ ทานน้อยหรือไม่ทานเลย โดยใช้การตรวจ
สุขภาวะทางจิตแบบย่อ พบว่า ผู้ที่ทานเป็นบางครั้งและ
ทานเป็นประจำ มีคะแนนดีกว่ากลุ่มที่ทานแกงกะหรี่น้อย
หรือไม่ทานเลย บ่งชี้ได้เบื้องต้นว่า สารเคอร์คิวมินอยด์
ที่เป็นส่วนผสมในแกงกะหรี่มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีความจำ
ดีขึ้น

ทำความรู้จักสมุนไพรไทยเพิ่มเติม :

กระชายขาว    พลูคาว

 

กลับหน้าแรก

Shopping Cart